top of page
8469983.jpeg

Star Splendor

 

  สตาร์ สเปลนเดอร์ ประพันธ์โดย Chin Cheng Lin นักมาริมบาชาวไต้หวันที่มีผลงานการประพันธ์เพลงที่เกี่ยวกับมาริมบาไว้อย่างมากมาย แต่ในเพลงสตาร์ สเปรนเดอร์นั้นได้มีการประพันธ์ไว้ทั้งสองรูปแบบ มีทั้งการเล่นแบบ Duo และแบบ Quartet งานประพันธ์นี้ได้แต่งให้กับ Noriko Tsukagoshi 

  โครงสร้างของการประพันธ์ในช่วงแรกของเพลง จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับเอฟเฟ็กต่าง ๆ ก่อนที่จะเข้าสู่ท่อนทำนองของเพลง และพอเข้าสู่ทำนองในช่วงแรก จะมีการใช้ลูกเล่นอย่างหนึ่งคือ การใช้มือในการตีแทนไม้ เพื่อให้เกิดโทนสีอีกแบบของเพลง ซึ่งจะทำให้รู้สึกมีชีวิตชีวา สดใส และน่ารัก แต่พอเข้าอีกทำนองที่เริ่มใช้ไม้ตีนั้น จะกลายเป็นความรู้สึกของจังหวะเต้นรำ (Walt) ทันที และก็จะวนสลับแบบนี้ไปเรื่อย ๆ

  ในส่วนของเทคนิคของเพลงนั้น ค่อนข้างดีและเข้าใจได้ง่าย ซึ่งเพลงนี้จะเน้นไปในเรื่องของการรัว (Roll) เสียมากกว่า ซึ่งเทคนิคนี้อาจจะต้องเข้าใจด้วยตัวเอง และการสร้างประโยคของเพลงนี้ค่อนข้างสร้างได้ง่าย

Chin Cheng Lin

  Chin Cheng Lin นัก Marimba ชาวไต้หวัน ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถพิเศษและเป็น Artist ที่มีได้รับรางวัลมากมาย อาทิเช่น "European Soloist Champion Award" ในปี พ.ศ. 2550 "Culture Outstanding Award" นอกจากนั้น Chin Cheng Lin ได้รับการยกย่องเนื่องจากความเชี่ยวชาญและความสามารถในด้านดนตรีและเทคนิคต่าง ๆ ของเขาบ่อยครั้งทำให้เขาได้รับการยกย่องในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์และการตีความของบทเพลง Marimba

  ปัจจุบัน Chin Cheng Lin ได้สอนอยู่ที่ Leuven University, MUDA Art High School และ Music Academy ใน Bornem

capture-20191219-032341.png

Star Splendor - ห้องที่ 2 - 6

  • จุดเด่นของบทเพลง  : ตั้งแต่ห้องที่ 2-6 จะเป็นการเล่นคล้ายๆ เอฟเฟ็กของเพลงก่อนเข้าสู่ทำนองหลัก และในจุดนี้เองเป็นจุดที่ค่อนข้างยากนิดหน่อย เพราะในจุดนี้ Marimba 1 จะเข้ามาก่อน ซึ่ง Marimba 3 จะเข้าทีหลัง แต่จะต้องฟัง Marimba 1 เพื่อให้ Balance เท่ากัน ไม่เช่นนั้นเอฟเฟ็กของเพลงจะไม่มีทางเกิดได้เลย

capture-20191219-032501.png

Star Splendor - ห้องที่ 26 - 29

  • จุดเด่นของบทเพลง  : ตั้งแต่ห้องที่ 26-29 เป็นจุดที่ดูเหมือนจะง่ายมากสำหรับท่อนนี้ เพราะท่อนนี้จะเป็นการใช้มือตีไปที่ลิ่มของ Marimba ซึ่งความยากของมันเลยคือ การใช้มือตี ท่อนนี้จะต้องใช้โทนเสียงที่เหมือนกันทั้งสี่คน เพราะผู้เขียนต้องการจะให้มี Colors ที่แตกต่างจากการใช้ไม้ตี

capture-20191219-032617.png

Star Splendor - ห้องที่ 48 - 50

  • จุดเด่นของบทเพลง  : ตั้งแต่ห้องที่ 48-50 เป็นท่อนที่เข้าสู่ทำนองหลักแล้ว ซึ่งทำนองหลักนั้นก็ดูไม่ได้มีอะไรมาก แต่ความน่าสนใจเลยคือ การใช้คอร์ด ของเพลงนี้ ดูจากห้องที่ 49 กับ 50 ซึ่งคอร์ดมีการใช้เป็น I - V - IV - I ซึ่งมีความแปลกมาในเพลงนี้ ตามหลักแล้วการเดินคอร์ดจะต้องเป็น I - IV - V - I แต่ในจุดนี้เลยมีความน่าสนใจ

bottom of page