top of page
1575458350.jpg

Vibraphone Concerto

 

 ไวบราโฟนคอนแชร์โตเป็นคอนแชร์โตสำหรับ Vibraphone และ Strings เป็นผลงานการประพันธ์ของ Emmanuel Sejourne ถูกประพันธ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1999 และถูกนำออกแสดงครั้งแรกโดยวง the Orchestra of the Auvergne ซึ่งเพลงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของรายการ International Vibe Competition 

  ในท่อนแรกของเพลงนั้น เปิดขึ้นพร้อมกับโน้ตที่อ่อนนุ่มและอ่อนหวานจาก String หลังจากนั้น Vibraphone จะเข้าบรรเลงประกอบอย่างเงียบ ๆ และนำไปสู่การบรรเลงเดี่ยวที่มีลักษณะคล้ายกับการบรรเลงซึ่งสอดคล้องกับสไตล์แจ๊สทั่วไปของ Sejourne อย่างดี 

  ในท่อนที่สองนั้น แตกต่างอย่างน่าทึ่ง ในท่อนนี้จะฟังดูเหมือนกับเพลงประกอบภาพยนตร์สยองขวัญนิดหน่อย มีความหวือหวา ลุ้นระทึก ในท่อนสองนี้จะมีความเหมือน Bartok ที่มีความคิดในการสลับเทคนิคเอฟเฟ็กต่าง ๆ กับดนตรี เพื่อให้ตัวของเพลงนั้นมีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น

Emmanuel Sejourne

  Emmanuel Séjourné นักแต่งเพลงและนักเพอร์คัชชัน เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1961 ในเมือง Limoges ประเทศฝรั่งเศส เป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในวงการเพอร์คัชชัน หลังจากที่ศึกษาดนตรีคลาสสิกที่ The National Conservatory of Strasbourg เขาได้รับการแนะนำให้รู้จักกับ Jean Batigne ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้ง The Percussions de Strasbourg หลังจากที่เรียนเพอร์คัชชัน Sejourne ก็ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในเครื่อง Keyboard Percussion Instruments (Vibraphone and Marimba) 

  และในปี ค.ศ. 1981 เขาได้ทำงานในฐานะทั้งนักดนตรีและนักแต่งเพลง ซึ่งได้รับการยกย่องจาก Percussion Community

First Mouvement

capture-20191219-025846.png

Vibraphone Concerto - 1st Movement (ท่อนที่ 1) - ห้องที่ 2 - 3

  • จุดเด่นของบทเพลง  : ตั้งแต่ห้องที่ 2-3 เป็นท่อนเริ่มของเพลงนี้และท่อนนี้ แต่ในตอนแรกนั้นจะไม่ได้ใช้ไม้ตี แต่เป็นการใช้ Bow Double Bass ในการสีกับลิ่มของ Vibraphone ซึ่งผู้เขียนต้องการที่จะให้เกิด Tone Colors ที่แตกต่างจากทั่วๆไป และอาจจะต้องการเพื่อให้เกิด Effect ของเพลงในช่วงแรก แต่ตรงนี้จะเล่นค่อนข้างยาก เพราะจุดนี้ถึงจะเป็นลักษณะคล้ายกับ Rubato ก็ตาม แต่ยังมีเครื่องอื่นเล่นอยู่ข้างในเช่นเดียวกัน

capture-20191219-030020.png

Vibraphone Concerto - 1st Movement (ท่อนที่ 1) - ห้องที่ 94 - 96

  • จุดเด่นของบทเพลง  : ตั้งแต่ห้องที่ 94-96 เป็นจุดที่ยากมากพอสมควร เพราะในจุดนี้จะเป็นการใช้ Bow กับ Stick Mallet ซึ่งมือขวานั้นจะถือ Bow และมือซ้ายนั้นจะถือไม้ Vibraphone ในความยากของจุดนี้คือ การใช้ Bow สีไปที่ลิ่มของ Vibraphone ในขณะที่มือซ้ายยังคงตีโน้ตอยู่

Second Movement

capture-20191219-030950.png

Vibraphone Concerto - 2nd Movement (ท่อนที่ 2) - ห้องที่ 49 - 52

  • จุดเด่นของบทเพลง  : ตั้งแต่ห้องที่ 49-52 เป็นจุดที่ไม่ได้ยากเท่าไหร่มากนัก แต่ความน่าสนใจของจุดนี้คือ การตีขั้นคู่ ซึ่งผู้เขียนต้องการให้เล่นเสมือนกับการ Improvise 

capture-20191219-030837.png

Vibraphone Concerto - 2nd Movement (ท่อนที่ 2) - ห้องที่ 156 - 165

  • จุดเด่นของบทเพลง  : ตั้งแต่ห้องที่ 156-165 เป็นจุดที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นจุดที่น่าสนใจอย่างมาก ซึ่งจุดนี้จะใช้ไม้ Vibraphone 3 อัน แล้วก็ไม้ Glockenspiel 1 อัน ซึ่งจะใช้ไม้ของ Glock. มาวางไว้ตรงโหนดของลิ่ม พอใช้ไม้ของ Vibe. ตีไปที่ลิ่มนั้นแล้ว จึงจะใช้ไม้ Glock. มากดและลากเพื่อให้ Tone Colors ของตัวโน๊ตนั้นเปลี่ยนไป และอีกอันที่น่าสนใจเลยคือ การใช้ Padal ซึ่งการใช้ทั่วไปจะเป็นการหยุดเสียงเพื่อไม่ให้เสียงนั้นเกิดกัดกันขึ้นมา แต่ในจุดนี้จะเป็นการค้างของ Padal ไว้ ซึ่งผู้เขียนอาจจะต้องการให้รู้สึกถึงความฟุ้งของเสียงและความวุ่นวายของเสียง

bottom of page